Home > ข่าวประชาสัมพันธ์ > กรมปศุสัตว์เร่ง!!! ฉีดวัคซีนควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าใน 7 จังหวัด
Want create site? Find Free WordPress Themes and plugins.

ที่พบโรค หลังได้รับบริจาคจากเอกชน พร้อมวางมาตรการเข้ม ป้องกันการรั่วไหลของวัคซีน
คาดโทษผู้ฝ่าฝืนจะดำเนินการทางวินัยและอาญาอย่างเด็ดขาด

วันที่ 21 เมษายน 2563 เวลา 11.00 น.

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินงานมาตรการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) พร้อมด้วย ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย นายริชาร์ด ฮัมเปรองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ สายงานการตลาด บริษัท เฟอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัดและนายนารา เกตุสิงห์ เลขาธิการสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย

ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ควบคุมและป้องกันโรค AHS ในม้าอย่างรวดเร็วที่สุด
เนื่องจากมีความห่วงใยผู้เลี้ยงม้าและอาชีพที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ
กรมปศุสัตว์ได้บูรณาการร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภาครัฐและเอกชน รวมถึงคณาจารย์
คณะสัตวแพทย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ หมอม้าผู้ชำนาญการชั้นนำของประเทศ
สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย สมาคมกีฬาโปโลแห่งประเทศไทย
และผู้แทนผู้เลี้ยงม้าทั่วประเทศ ได้ร่วมมือกันวางแผนและดำเนินการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรค
ตั้งแต่ผลการยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่าพบโรค AHS ล่าสุดได้รับการบริจาควัคซีนจากนายพงษ์เทพ
เจียรวนนท์ อุปนายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์
ผู้ผลิตอาหารม้าแมกซ์วิน (MAXWIN)

กรมปศุสัตว์จึงได้นำไปฉีดป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าครั้งแรกของไทย
ที่สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากจุดเกิดโรค อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร และมีม้าจำนวน 560 ตัว ซึ่งม้าดังกล่าว เป็นม้าที่ใช้สำหรับผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและเซรุ่มแก้พิษงู
จากการติดตามผลการฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์ประจำสถานเสาวภา ปรากฎว่าไม่มีม้าที่แสดงอาการแพ้วัคซีนและจากการตรวจสุขภาพ ไม่พบสัตว์ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้น
กรมปศุสัตว์มีแผนในการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ม้าในพื้นที่เกิดโรครัศมี 50 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค
และเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
จึงได้มีการจัดการประชุมชี้แจงแผนการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) และมาตรการ

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการฉีดวัคซีน ให้แก่สำนักงานปศุสัตว์เขต
และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เป้าหมายการฉีดวัคซีน

โดยได้กำชับให้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กรมปศุสัตว์กำหนดไว้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. ทำความเข้าใจกับเจ้าของม้า เช่น เหตุผลที่ต้องฉีดวัคซีน การปฏิบัติกับม้าที่ฉีดวัคซีน
และผลกระทบภายหลังฉีดวัคซีน รวมทั้งอาจมีการสูญเสียม้าจากผลข้างเคียงของการใช้วัคซีน

2. ให้นำม้าเข้ามุ้ง เพื่อป้องกันแมลงกัด ก่อนเก็บเลือดอย่างน้อย 3 วัน และภายหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30
วัน

3. ขึ้นทะเบียนม้าทุกตัว โดยฝังไมโครชิพ และลงข้อมูลในฐานข้อมูล NID

4. ก่อนฉีดวัคซีนจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ และต้องตรวจสุขภาพสัตว์ เช่น วัดอุณหภูมิตัวสัตว์
หากพบมีไข้ ไม่ให้ฉีดวัคซีน และกักแยกสัตว์ในมุ้งเพื่อดูอาการ เก็บตัวอย่างเลือดม้าส่งห้องปฏิบัติการ
เพื่อตรวจดูการติดเชื้อ ในกรณีที่สัตว์ติดเชื้อ ให้แยกสัตว์ออกจากฝูง และดำเนินการป้องกันแมลงดูดเลือด
เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค

5. ดำเนินการฉีดวัคซีนในสัตว์ที่ไม่พบการติดเชื้อ
และติดตามอาการข้างเคียงภายหลังจากฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง (หากแสดงอาการข้างเคียงให้ดูแลรักษาตามอาการ) ในกรณีที่ม้าตั้งท้องให้พิจารณาการให้วัคซีนตามดุลยพินิจของสัตวแพทย์

6. หลังจากฉีดวัคซีนภายใน 1 เดือน ให้เก็บตัวอย่างเลือด
เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดวัคซีน หากพบมีระดับภูมิคุ้มกันไม่อยู่ในระดับที่ป้องกันโรคได้
ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ

7. ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ที่ฉีดวัคซีนออกจากคอกเลี้ยงที่มีมุ้ง เป็นระยะเวลา
30 วัน และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากพื้นที่ จนกระทั่งไม่มีสัตว์ป่วยเพิ่ม เป็นระยะเวลา 90 วัน
กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดเร่งทำความเข้าใจกับผู้เลี้ยงม้าในพื้นที่เป้าหมายที่จะฉีดวัคซีน ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจการใช้วัคซีนป้องกันโรคและให้คำแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการฉีดวัคซีนและข้อปฏิบัติภายหลังการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามมาตรการข้อกำหนดเงื่อนไขการฉีดวัคซีนสำหรับการกำกับดูแลเบิกจ่ายวัคซีนวัคซีนที่ได้รับการบริจาคจะทำการเก็บรักษาไว้ที่สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ อำเภอปากช่อง

จังหวัดนครราชสีมา ให้ปศุสัตว์จังหวัดทำเรื่องเบิกจ่ายตามแบบฟอร์มผ่านปศุสัตว์เขตและให้ ผอ.สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เป็นผู้อนุมัติในการฉีดวัคซีนทุกครั้ง
เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ต้องเข้าไปกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรการข้อกำหนดเงื่อนไขการฉีดวัคซีนของกรมปศุสัตว์ พร้อมทั้งรายงานการฉีดวัคซีนตามแบบฟอร์มที่กำหนด เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
นอกจากนี้ได้กำชับให้ปศุสัตว์จังหวัดกำกับดูแลการใช้วัคซีนไม่ให้เกิดการรั่วไหลไปฉีดในสัตว์นอกพื้นที่เป้าหมายตามแผนฯ อย่างเคร่งครัดเพราะจะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการขอคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) หากฝ่าฝืนจะดำเนินการทางวินัยและอาญาอย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ “กรมปศุสัตว์ ขอขอบคุณที่ได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภาครัฐและเอกชน รวมถึงคณาจารย์
คณะสัตวแพทย์จากมหาวิทยลัยต่างๆ หมอม้าผู้ชำนาญการชั้นนำของประเทศ
สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย สมาคมกีฬาโปโลแห่งประเทศไทย
ตลอดจนผู้เลี้ยงม้า ที่ช่วยกันสนับสนุนในการควบคุม ป้องกันโรคด้วยดี กรมปศุสัตว์มั่นใจว่าจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายจะให้ประเทศไทยสามารถควบคุมและกำจัดโรคนี้หมดไปจากประเทศไทยในที่สุด”

Did you find apk for android? You can find new Free Android Games and apps.

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.